ภาพรวมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน
บริษัทฯ ดําเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการกํากับดูแลกิจการที่ดี มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ธุรกิจ และสังคมเกิดความยั่งยืน คณะกรรมการบริษัทได้กําหนดนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กรเพื่อเป็นแนวทางดําเนินธุรกิจ คํานึงถึงประเด็นความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยอาชีวอนามัย ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจเป็นสําคัญ ทุกกิจกรรมของบริษัทฯ จะต้องคําเนินการไปในทิศทางเดียวกัน คือ มุ่งผลลัพธ์ที่สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้ แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รักษามาตรฐาน การยอมรับและความน่าเชื่อถือจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายได้อย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างการดําเนินงานเพื่อความยั่งยืน
บริษัทได้วางกลยุทธ์การพัฒนาความยั่งยืนตามโครงสร้างการดําเนินงานทั้งในด้านการกํากับดูแลกิจการ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อผลักดันและบูรณาการการพัฒนาความยั่งยืนให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรมควบคู่ไปกับการดําเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
Governance
ด้านการกำกับดูแลกิจการ
คณะกรรมการผู้บริหาร และพนักงานมุ่งเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านการกํากับดูแลและการบริหารความเสี่ยงที่เข้มแข็งสนับสนุนแนวทางการปฎิบัติเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
Economy
ด้านเศรษฐกิจ
สร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภาคครัวเรือนและประเทศ
Environment
ด้านสิ่งแวดล้อม
ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมโดยกําหนดนโยบายสร้างความตระหนัก และส่งเสริมการจัดการด้านพลังงานการจัดการของเสีย การลดก๊าซ เรือนกระจก และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
1. ผู้ถือหุ้น
การดูแลสิทธิของผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
2. พนักงาน
บริษัทมีคณะกรรมการที่ดูแลการพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสม และส่งเสริมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญและเติบโตในสายงานที่รับผิดชอบ
3. ลูกค้า/ลูกหนี้
ช่วยเหลือลูกค้า โดยเน้นการเจรจาเป็นหลักมากกว่ากระบวนการทางกฎหมาย ช่วยเหลือเรื่องปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระได้โดยไม่รบกวนการดำรงชีพ
4. คู่ค้า
บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน
5. ชุมชน/สังคม
แสดงความรับผิดชอบ และพัฒนาชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง
6. ประเทศ
สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้กลับมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และมีคุณภาพได้อีกครั้ง
7. คู่แข่งทางการค้า
ส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มธุรกิจ โดยให้ความช่วยเหลือในเรื่องการดำเนินการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการประกอบธุรกิจ
8. เจ้าหนี้
ประเมินผล และวิเคราะห์อันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ